“ยินดีต้อนรับ
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกทุกท่านค่ะ
บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2556 จัดทำโดยนางสาวศิรภัสสร คำจันลา
คบ.4 คณิตศาสตร์ หมู่2”
เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556
คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้
วัตถุประสงค์ในรายวิชา
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1.อธิบายความหมาย
ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2.อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
3.ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
3.ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4.อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5.อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6.บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7.อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8.บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9.บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10.บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
10.บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11.อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง
ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12.อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13.ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง
ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14.สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15.นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
รูปแบบของกระบวนการเรียนการรู้
วิธีสอน เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
เนื้อหาบทเรียน เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ ความซื่อสัตย์(integrity)
กิจกรรมการเรียนการสอน
การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ
(traditional
classroom)
การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
การสรุปเป็นรายงาน
การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส เกี่ยวกับความซื่อสัตย์
"...คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความ
มั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะ สร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้
ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ
เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม
๒๕๒๒
"...ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความ ดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
ปี ๒๕๓๑
"...ผู้ที่ทีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้ จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้
แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความ
รู้มากแต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..."
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะคณาจารย์โรงเรียนต่างๆ
ณ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๘ มีนาคม
๒๕๒๓
"...การที่ประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น
ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ
และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิด แก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม
๒๔๙๙
"...ทุกคนในชาติมีหน้าที่ของตัว และถ้า
แต่ละคนทำให้ได้อย่างเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ประเทศชาติก็ย่อมต้องปลอดภัย
และก้าวหน้าไปอย่างดี..."
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ
ในโอกาสวันเฉลิมประชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม
๒๕๓๓
"...ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้อง
อาศัยเหตุปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง นอก จากวิทยาการที่ดีแล้ว
จะต้องอาศัยความยุติธรรมเที่ยงตรง และความสะอาดสุจริต ซึ่งต้องเป็นไป
พร้อมทั้งในความคิดและการกระทำ..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๙ ธันวาคม
๒๕๒๘
"...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา
คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้
จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม
ประกอบด้วย..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันที่ ๘ กรกฎาคม
๒๕๒๐
"...เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องทำใจ
ให้มั่นคงเป็นกลาง มีเหตุมีผล ความจริงใจและสุจริตเที่ยงธรรม
เพื่อความคิดจักได้กระจ่างแน่วแน่ เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่แท้ ของภารกิจของตน
อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมีอิสรภาพ..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ ๒ สิงหาคม
๒๕๓๓
"...การที่จะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น
ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์เป็นรากฐานสำคัญ
ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและย่อมที่จะ
บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาส อีกด้วย..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม
๒๔๙๙
"...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความ โลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อยถ้ามีความคิดอันนี้ มีความ คิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอ ประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..."
ความตอนหนึ่ง ในพระราดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ
ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม
๒๕๔๑
"...ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่
ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร
ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น
ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน
๒๕๒๒
"...คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน
นั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป
ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็น แก่ตัว
ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นความ ไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ
เป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียรด้านความซื่อสัตย์สุจริต...”
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน
๒๕๕๒
ความซื่อสัตย์ เป็นลักษณะที่ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้วางใจ เป็นที่น่าคบหาสมาคมด้วย ถ้าขาดความซื่อสัตย์จะเป็นคนไม่น่าคบหาสมาคม
เป็นที่ระแวงแคลงใจของเพื่อนและบุคคลใกล้ชิด
โดยปกติแล้วผู้ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านส่วนตัว
การประกอบอาชีพ สังคม ความซื่อสัตย์จึงหมายถึง
การประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ
ไม่โกง ไม่หลอกลวง
พฤติกรรมที่แสดงว่ามีความซื่อสัตย์ มีดังนี้
1.ตรงต่อเวลา นัดหมายแล้วมาตามนัดและตรงเวลามาโรงเรียนตรงเวลาไม่มาสาย
1.ตรงต่อเวลา นัดหมายแล้วมาตามนัดและตรงเวลามาโรงเรียนตรงเวลาไม่มาสาย
2.ไม่พูดปด
พูดความจริงเสมอ
3.ไม่หน้าไหว้หลังหลอก
ต่อหน้าทำอย่างหนึ่งและลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง
4 ยอมรับผิดเมื่อทำผิด ไม่ใส่ร้ายความผิดให้กับผู้อื่น
5.จ่ายเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสิ่งของ ขึ้นรถประจำทางหรือโดยสารยานพาหนะอื่นๆหรือใช้บริการอื่นๆ ที่ต้องเสียเงินค่าบริการ
6. ไม่หยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนจะใช้สิ่งของผู้อื่นต้องขออนุญาตก่อน
7.ไม่ลอกการบ้านเพื่อน ไม่แอบอ้างผลงานเพื่อนเป็นผลงานตัวเอง ไม่ลอกคำตอบเพื่อน
คําคมสอนใจ
ไว้เป็นบทเรียน สร้างพลังใจ7.ไม่ลอกการบ้านเพื่อน ไม่แอบอ้างผลงานเพื่อนเป็นผลงานตัวเอง ไม่ลอกคำตอบเพื่อน
ที่ที่ดีที่สุดที่จะพบ
"มือที่พร้อมจะช่วยเหลือ คุณ"
คือ ที่สุด "ปลายแขนของคุณเอง"
คือ ที่สุด "ปลายแขนของคุณเอง"
มีเพียงชีวิตที่ทำ
"เพื่อคนอื่นเท่านั้น"
ที่ควรค่าแก่การ "มีชีวิต"
ที่ควรค่าแก่การ "มีชีวิต"
ความเหงาเป็น
"เพื่อนแท้"
อ่อนแอเป็น "เพื่อนเก่า"
ความเงียบก็ "เพื่อนเรา"
ใจบางเบาคือ "เพื่อนตาย"
อ่อนแอเป็น "เพื่อนเก่า"
ความเงียบก็ "เพื่อนเรา"
ใจบางเบาคือ "เพื่อนตาย"
ความเห็นอกเห็นใจ
คือ "กฎสำคัญ" ของ "ชีวิตมนุษย์"
คือ "กฎสำคัญ" ของ "ชีวิตมนุษย์"
คนที่ว่าคนอื่น
"โง่" บุคคลนั้น "โง่ยิ่งกว่า"
คนที่ว่าคนอื่น "ฉลาด" บุคคลนั้นคือ "ผู้ฉลาดอย่างแท้จริง"
คนที่ว่าคนอื่น "ฉลาด" บุคคลนั้นคือ "ผู้ฉลาดอย่างแท้จริง"
ความโศรกเศร้า
สามารถเยียวยาตัวเองได้ "โดยลำพัง"
แต่การจะได้รับ
ความเบิกบาน อย่างเต็มเปี่ยม
จำเป็นต้องมี "ใครสักคน" มาแบ่งปัน
จำเป็นต้องมี "ใครสักคน" มาแบ่งปัน
ทุกสิ่งในชีวิต
โดยพื้นฐานแล้ว คือ "ของขวัญ"
จงกางมือรับ "สิ่งนั้น" และ "ถือไว้"
หน้าที่ของเรา
ไม่ใช่นั่งรอโอกาสให้วิ่งมาหาเรา
แต่เรามีหน้าที่
พัฒนาความรู้ความสามารถ
ให้รู้มากพอและเก่งมากพอ
ที่จะหยิบโอกาสที่มันอยู่รอบตัว
มาสร้างชีวิต สร้างอนาคต สร้างความสำเร็จ
และความร่ำรวยให้ชีวิต
จงกางมือรับ "สิ่งนั้น" และ "ถือไว้"
หน้าที่ของเรา
ไม่ใช่นั่งรอโอกาสให้วิ่งมาหาเรา
แต่เรามีหน้าที่
พัฒนาความรู้ความสามารถ
ให้รู้มากพอและเก่งมากพอ
ที่จะหยิบโอกาสที่มันอยู่รอบตัว
มาสร้างชีวิต สร้างอนาคต สร้างความสำเร็จ
และความร่ำรวยให้ชีวิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)